top of page
ความเป็นมา

Background

           องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยราชการที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีบทบาทและความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน

ทั้งในด้านการพัฒนาพื้นที่ การจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยในระดัฐานราก อย่างไรก็ตาม การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคหลายประการ  อาทิเช่น ปัญหาด้านการบริหารงานคลังสาธารณะ ปัญหาด้านปริมาณและคุณภาพของบุคลากรท้องถิ่น ปัญหาด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามกฎหมาย ปัญหาด้านโครงสร้างการบริหาร เป็นต้น ส่งผลให้มีการปฏิรูประบบบริหารจัดการและโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายครั้ง โดยการปฏิรูปครั้งสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย เกิดขึ้นหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 และมีการออกพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งได้บัญญัติให้มีการกระจายอำนาจทางการเมืองการปกครอง การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานคลัง ให้แก่ อปท. และในปี 2561 กำลังมีการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นครั้งสำคัญอีกครั้ง ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการปกครองท้องถิ่น สภาปฏิรูปแห่งชาติ

          นอกจากนี้ ในปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแนวทางการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ที่เน้นการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม นำพาประเทศ สู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นรวมถึงการพัฒนาประเทศตามแนวทางใหม่นั้น จำเป็นต้องพัฒนาจากระดับฐานรากซึ่งต้องอาศัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา โดยรัฐบาลได้กำหนดให้การปกครองท้องถิ่นเป็น 1 ใน 11 ด้าน ที่ต้องทำการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ยังมีบริบทการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ที่เป็นภาวะคุกคามและความท้าทายใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่า องค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นบนฐานความรู้และนวัตกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการวิจัยและพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ก้าวทันสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถบริหารงานให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

         จากความสำคัญของประเด็นดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้บุคลากรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้รวมตัวกันเพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยจัดตั้ง “หน่วยวิจัยนวัตกรรมการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพัฒนานักวิจัยในคณะให้มีศักยภาพในการทำวิจัย สามารถสร้างผลงานวิชาการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติได้ ตลอดจนมุ่งหวังที่จะพัฒนาให้หน่วยวิจัยเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและสามารถตอบสนองการผลิตบัณฑิตศึกษาด้านรัฐประศาสนศาสตร์ได้ในอนาคต

72739125_1422471051234843_25906795408628
เป้าหมาย วิสัยทัศน์

Goal

1. พัฒนาองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีทิศทางวิจัยดังต่อไปนี้

  • พัฒนานวัตกรรมนโยบายสาธารณะท้องถิ่น

  • พัฒนานวัตกรรมการริหารงานบุคคลท้องถิ่น

  • พัฒนานวัตกรรมการบริหารงานคลังท้องถิ่น

  • พัฒนานวัตกรรมการจัดการระบบบริหารงานท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์ (E-local) ผลิตผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ

2. พัฒนานักวิจัยด้านนวัตกรรมการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • มีหน่วยวิจัยนวัตกรรมการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • มีนักวิจัยด้านนวัตกรรมการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. สนับสนุนบัณฑิตศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • เตรียมความพร้อมเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

  • เป็นที่ปรึกษาหลัก/ร่วม หลักสูตร รปม.

 

4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

  • เกิดความร่วมมือกับ อปท. และภาคียุทธศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง

บุคลากร

Personnel

53_rat2.jpg

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

156_ดร.กรวิทย์.jpg

ดร.กรวิทย์ เกาะกลาง

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

158_rat5.jpg

ดร.ศิริพร เพ็งจันทร์

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

111_ว่าที่ร้อยตรี ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์.

ผศ. ว่าที่ร้อยตรี ดร.ไพศาล  บรรจุสุวรรณ์

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

146_อ.ตู๋.jpg

ดร.วัฒนา นนทชิต

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

69_eng6.jpg

อาจารย์รภัสศักย์ เหตุทอง

สาขาวิชาต่างประเทศ

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

bottom of page